เมนู

อนึ่ง ภิกษุใด ถือเสนาสนะในวัดหนึ่งแล้ว ไปด้วยคิดว่า เราจักอยู่
ในวัดอื่น ; ในขณะที่ภิกษุนั้นก้าวล่วงอุปจารสีมาไป การถือเสนาสนะย่อมระงับ.
แต่หากว่า ภิกษุไปด้วยตั้งใจว่า ถ้าในวัดนั้นจักมีความสำราญ เราจัก
อยู่, ถ้าไม่มี เราจักมา ดังนี้ ทราบว่าไม่มีความสำราญ จึงกลับมาในภาย
หลัง เช่นนี้ สมควร.

[ว่าด้วยภิกษุผู้มีอาสนะเสมอกัน ]


ภิกษุใดเป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่ากันเพียง 2 พรรษา ภิกษุ
นั้น ชื่อว่าผู้มีภายใน 3 พรรษา ในคำว่า ติวสฺสนฺตเรน นี้.
ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่าเพียงพรรษาเดียว
ก็หรือว่า ภิกษุใดมีพรรษาเท่ากัน ไม่มีคำจะพึงกล่าวในภิกษุนั้นเลย. จริงอยู่
ภิกษุทั้งหมดนี้ ย่อมได้เพื่อนั่งเป็นคู่ ๆ กันบนเตียงหรือบนตั่งอันเดียวกัน.
ที่นั่งใด พอแก่ 3 คน, ที่นั่งนั้น จะเป็นของเคลื่อนที่ได้ หรือ
เคลื่อนที่ไม่ได้ก็ตามที่ ; ย่อมได้เพื่อนั่งบนที่นั่งเห็นปานนั้น. ใช่แต่เท่านั้น
บนแผ่นกระดาน จะนั่งร่วมแม้กับอนุปสัมบัน ก็ควร.

[ว่าด้วยคิหิวิกัติ ]


บทว่า หตฺถินขกํ คือ ตั่งประดิษฐานอยู่บนกระพองเศียรแห่งช้าง
ทั้งหลาย.
ได้ยินว่า คำว่า หัตถินขกะนี้ เป็นชื่อแห่งปราสาทที่ทำอย่างนั้น.
หลายบทว่า สพฺพํ ปาสาทํ ปริโภคํ มีความว่า บานหน้าต่าง
เตียงตั่ง พัดใบตาล วิจิตรด้วยทองและเงินเป็นต้น ก็ดี หม้อน้ำ ขันน้ำทำด้วย
ทองและเงินก็ดี หรือว่าเครื่องใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจำหลักลวดลายงดงามก็ดี
ควรทุกอย่าง.